วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

CLASH



CLASH

สมาชิก
ชื่อจริง ปรีติ บารมีอนันต์ (แบงค์) 
ตำแหน่ง ร้องนำ
 
วันเกิด 20 ต.ค. 2525 
ราศี ตุลย์ 
การศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 
ประสบการณ์
ทางดนตรี แต่งเนื้อร้อง / ทำนอง 
รางวัลที่เคยได้รับ นักร้องนำยอดเยี่ยม และรองชนะเลิศ
อันดับ 1 Hot Wave Music 
Awards # 3 ปี 2541
ชื่อจริง ธนะพล ฤกษ์สมผุส (พล) 
ตำแหน่ง กีตาร์
 
วันเกิด 2 ม.ค. 2524 
ราศี ธนู 
การศึกษา คณะคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 
เครื่องดนตรีที่เล่นได้ ทรัมเปต, กีตาร์ 
รางวัลที่เคยได้รับ รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประกวดโยธวาทิต ชิงแชมป์ประเทศไทย
ชื่อจริง ฐาปนา ณ บางช้าง (แฮ็ค) 
ตำแหน่ง กีตาร์
 
วันเกิด 6 พ.ค. 2524 
ราศี เมษ 
การศึกษา คณะศิลปศาสตร์ เอกดนตรีศึกษาสากล สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จ 
เครื่องดนตรีที่เล่นได้ กลอง, เปียโน, คีย์บอร์ด, กีตาร์ 
รางวัลที่เคยได้รับ รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประกวดโยธวาทิต ชิงแชมป์ประเทศไทย
ชื่อจริง สุกฤษ์ ศรีเปารยะ (สุ่ม) 
ตำแหน่ง เบส
 
วันเกิด 21 ม.ค. 2525 
ราศี มังกร 
การศึกษา คณะดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล 
เครื่องดนตรีที่เล่นได้ ดับเบิ้ลเบส, ทรอมโบน, เบส 
รางวัลที่เคยได้รับ รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประกวดโยธวาทิต ชิงแชมป์ประเทศไทย
ชื่อจริง อนันต์ ดาบเพ็ชรธิกรณ์ (ยักษ์) 
ตำแหน่ง กลอง
 
วันเกิด 24 ม.ค. 2525 
ราศี มังกร 
การศึกษา คณะมนุษยศาสตร์สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
เครื่องดนตรีที่เล่นได้ ทูบา, เปียโน, กลอง 
รางวัลที่เคยได้รับ รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประกวดโยธวาทิต ชิงแชมป์ ประเทศไทย, รองชนะเลิศอันดับ 1 Hot Wave Music Awards # 3 ปี 2541 
- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - 
ผลงานอื่น ๆ พรีเซ็นเตอร์โฆษณาน้ำมันเครื่อง 
แนวเพลง ป๊อปร็อค 
สังกัด อัพจี

วงดนตรีร็อคหน้าใหม่และมีสไตล์เป็นของตัวเอง รวมตัวกันครั้งแรก ในชื่อวง LUCIFER เพื่อเข้าประกวด Hot Wave Music Awards ครั้งที่ 2 และ 3 ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมที่ราชวินิต บางแก้ว พร้อมคว้าหลายรางวัลจากการประกวด
หลังจากนั้น พวกเขามีโอกาสทำอัลบั้มแรกกับสังกัด อัพจี ที่ใช้ชื่อว่า o­nE พร้อมเพลง "กอด" เป็นเพลงเปิดตัวของพวกเขา ซึ่งเป็น ฝีมือการแต่ง ทั้งเนื้อร้องและทำนองของ "แบงค์" นักร้องนำ และเรียบเรียงด้วยฝีมือของพวกเขาเองทั้งหมด กับเนื้อหาอบอุ่น จริงใจที่มีต่อใครคนหนึ่ง และกลายเป็นเพลงแจ้งเกิดของพวกเขา ในเวลาต่อมา พร้อมรางวัลจาก "สีสัน อะวอร์ดส์" สาขาเพลงร็อคยอดเยี่ยม จากเพลง "Love Scene" ในปี 2545 เป็นเครื่องการันตี
วันนี้ 5 หนุ่มวงแคลช กลับมาอีกครั้งกับความตั้งใจ ที่จะสร้างทางเลือกใหม่ให้กับวงการดนตรี ด้วยผลงานอันดับที่ 2 "Soundshake" ที่ผ่านการคิดทุกขั้นตอน จากมันสมองของพวกเขา รวมทั้งเรียบเรียงเพลงเอง เพื่อให้ได้ซาวนด์ดนตรีที่มีรายละเอียด ละเมียดละไม บวกกับน้ำสียงและลีลาที่โดดเด่นของ"แบงค์" นักร้องนำ ที่ได้ฝากฝีไม้ลายมือการแต่งเพลงไว้ถึง 7 เพลง
"Soundshake" งานเพลงที่จะมาเขย่าหัวใจคนฟังให้สั่นสะท้าน ด้วยเพลงเปิดตัว "เธอจะอยู่กับฉันตลอดไป" และเพลง "ขอเช็คน้ำตา" ที่ฮิตติดชาร์ท ฮอตติดหูคนฟังไปทั่ว
หลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากมาย กับอัลบั้ม "SOUNDSHAKE" พวกเขาโด่งดัง โดดเด่น จนได้ไปเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาน้ำมันเครื่องยี่ห้อหนึ่ง แล้วยังได้คลอดอัลบั้มพิเศษ SOUNDCREAM ออกมาเซอร์ไพร์สแฟนเพลงกันต่อ ด้วยเสียงดนตรีแบบอะคูสติกที่ฟังสบายขึ้น พร้อมเพลงพิเศษ "เธอคือนางฟ้าในใจ" ที่หลายคนไม่น่าพลาด
ปี 2546 ด้วยการจับมือกันของจาก 3 ค่ายเพลงร็อค อย่าง มอร์ มิวสิค,จีนี่ เรคคอร์ดส และอัพจี อัลบั้มพิเศษ Little Rock Project จึงเกิดขึ้น จากการรวมกันเฉพาะกิจ ของ 7 วงร็อครุ่นใหม่มาแรง Clash, ABnormal, Paradox, I-zax, Ultra Chuadz, Zeal และกะลา ที่กลับการปลุกกระแสตำนานเพลงร็อคมือขวา"ไมโคร" โดยนำเอา 25 บทเพลงฮิต มาเรียบเรียงและร้องใหม่ ในสไตล์ของแต่ละวง
ที่มา 1.http://guitar.kaidown.com/Artist-History/Clash.aspx



คาร์นิวัล Carnival


ร์นิวั Carnival

          เมื่อเอ่ยถึงเทศกาลนี้ ต้องเป็นที่คุ้นหูของคนทั่วโลก เพราะถือเป็นประเพณีสำคัญของชาวคริสต์
สำหรับระยะเวลาของการจัดงานนั้นแตก ต่างกันไปตามความต้องการของแต่ละท้องถิ่น 
สัญลักษณ์ของงานที่เห็นได้ชัดเจน เหมือน ๆ กัน คือ การแต่งกายแฟนซี สีสรรฉูดฉาด ผู้คนเดิน
กลุ่มเป็นขบวนไปตามท้องถนน ชาวเยอรมันส่วนใหญ่นิยมเรียกชื่อเทศกาลนี้ว่า "Fasching"
ซึ่งคำนี้ถูกใช้กันมาตั้งแต่คริสต ศตวรรษที่ 13 แล้ว




          
การเฉลิม ฉลองอย่างเป็นทางการ เริ่มจากวันที่ 11 พ.ย. ของทุกปี เวลา 11.11 น. แต่ละเมืองจะมีการแห่ขบวนพาเหรด เดินเข้าแถวต่อกันเป็นกลุ่มๆ ระยะเวลาของงานกินเวลานานนับเดือนซึ่งในระหว่างวันที่ 12 พ.ย. ถึง ม.ค. จะมีสีสรรของงานอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับเมืองนั้นๆ

           เมืองที่ขึ้นชื่อว่ามีการจัดงานยิ่งใหญ่ มีผู้เข้าร่วมงานนับหมื่น แสนคน ได้แก่ Koeln , Mainz , Dueseldorf ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ต่างก็สนุกสนานกับการแต่งกายให้แปลกไปจากชีวิตประจำวัน เด็กๆ ต่างได้แต่งกายไปตามฝัน ตามจินตนาการของตน ที่นิยมของเด็กหญิง คือ การ แต่งเป็นเจ้าหญิง , แม่มด , สัตว์ประเภทต่าง ๆ ส่วนเด็กชายที่เห็นฮิตกันทั่วหน้า คือ โจรสลัด ตามมาด้วย ตำรวจ , พนักงานดับเพลิง , ทหาร สมัยโรมัน ผู้ใหญ่เองก็พลอยสนุกไปด้วย ถือเป็นการปลดปล่อยความเครียด จากการตรากตรำทำงาน มารวมกลุ่มสังสรรค์กัน

ตามปฏิทิน ของเยอรมันมักจะระบุ วันสำคัญก่อนสิ้นสุดงาน Fasching ไว้ดังนี้
Nelkensamstag........ ตรงกับ วันเสาร์ 
Tulpensonntag......... ตรง กับ วันอาทิตย์ 
Rosenmontag ..........ตรงกับ วันจันทร์ 
Fastnachtsdienstag ตรงกับ วันอังคาร 


          ในเวลาเที่ยงคืนของวันอังคารนี้เอง เป็นจุดสิ้นสุดของเทศกาลอย่างแท้จริง (วันพุธต่อมาถูกเรียกว่า Aschermitwoch) หลายๆเมืองมีประเพณีการเผาหุ่นฟางเปรียบเสมือน การอำลา อย่างเป็นทางการ เพื่อมาพบกันใหม่ในปีหน้า
           เทศกาล คาร์นิวัลจัดขึ้นในหลายประเทศแต่ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั่วโลกมากที่สุดคือคาร์นิ วัลของบราซิล(Brazilian Carnival) คาร์นิวัล มาจากภาษา โปรตุเกสว่าCarnaval ปัจจุบันเป็นเทศกาล ประจำปีในประเทศบราซิล ซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เดินทางไปเที่ยวประเทศบราซิล เพื่อร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลนี้


           เทศกาลคาร์นิวัลจะจัด ก่อนวันสำคัญของชาวคริสต์คือวัน พุธรับเถ้า (AshWednesday) 4วัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเข้าสู่เทศกาลมหาพรตของชาวคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก(เทศกาลเข้าสู่ธรรมของคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์)เทศกาลมหา พรตเป็นช่วงการถืออดอาหาร40วันตามแบบที่พระเยซูเจ้า ทรงวางไว้คือพระองค์ ทรงถืออดพระกระยาหาร40วันก่อนทำพันธกิจการอดอาหาร ช่วงนี้เน้น ที่การพลีกรรมและเพื่ออธิษฐานภาวนา การอดอาหารของชาวคริสต์คาทอลิกจะเน้นที่อดเนื้อส่วนชาวคริสต์โปรเตสแตนต์จะ อดอาหาร ทั้งหมดยกเว้นน้ำส่วนจะอดอาหารทุกมื้อทั้ง40วัน หรืออด บางมื้อในแต่ละวันเพื่ออธิษฐานขึ้นอยู่กับความศรัทธาส่วนบุคคล ดั้งเดิมเทศกาลคาร์นิวัลเป็นการถือปฏิบัติของกลุ่ม Pagan Saturnalia อีก นัยหนึ่งเรา อาจจะตีความหมายว่าเทศกาลคาร์นิวัลคือการ เฉลิมฉลองกล่าวอำลาความสุขสบายฝ่ายเนื้อหนังเทศกาลคาร์นิวัล ของประเทศบราซิลแตกต่างจากคาร์นิวัลประเทศในยุโรปหรือที่อื่นๆในโลกเพราะเทศ กาลคาร์นิวัลของประเทศบราซิลนั้นได้มาจากการต่อสู้ของประชาชนจนรัฐบาลยอมรับ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะเดิมทีการฉลองคาร์นิ วัลมาจากโปรตุเกสเรียกว่า"entrudo"


           นิคาร์นิวัลสมัยใหม่ของบราซิลเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1845 ที่เมือง Rio de Janeiro ซึ่งที่เมือง City's bourgeoisieได้นำ การฝึกการโยนบอลและปาตี้ร์จาก ปารีสซึ่งการละเล่นเป็นการล้อเลียนกันในทวีปยุโรป เมื่อสืบสาวการละเล่นนี้ก็มาจากการละเล่นตามวัฒนธรรมของชาว พื้นเมืองอเมริกันและอัฟริกันซึ่งตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่19กลุ่มcordões (literally laces or strings in Portuguese)ถูก แนะนำไปใช้ที่ “ริโอ เดอ จาเนโร”(ประเทศบราซิล) คนกลุ่มนี้จะ เดินพาเหรดไปตามท้องถนนพร้อมทั้งเล่นดนตรีและเต้นรำไปด้วยซึ่งปัจจุบันคือ กลุ่มที่เรียกว่า blocos(blocks)ประกอบ ด้วยกลุ่มคนที่แต่งตัวด้วยชุดประจำชาติ หรือเสื้อยืดที่มีสัญลักษณ์ของ themes เพื่อ เฉลิมฉลองคาร์นิวัล ปกติกลุ่ม Bloจะเป็นกลุ่มของ เพื่อน บ้านหรือคนนอกเขต รวมทั้งกลุ่มที่นำดนตรีเข้ามาร่วมแสดงหรือ พวกนักเดินทางมาร่วมด้วยกลุ่ม"blocos"กลาย เป็นกลุ่มใหญ่ของเทศกาลคาร์นิวัลใน “ริโอ เดอ จาเนโร” ซึ่งมีมากกว่า100"blocos"แล้ว ทุกวันนี้ก็จะเพิ่มมากขึ้นขนาดของแต่ละ"blocos"มีใหญ่บ้างเล็กบ้างทั้งหมดก็ จะรวมกันเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสแล้ว เดินพาเหรดออกไปสู่ถนนมีบางกลุ่มคงอยู่ที่เดิมเสมอแต่ละกลุ่ม"blocos"ก็ มีถนนหรือถนนที่ต้องออกพาเหรดดังนั้นถ้าเป็นกลุ่มใหญ่มีการปิดถนนกันเลยปก ติแล้วคาร์นิวัลจะเริ่มในเดือนมกราคมจนกระทั่งสิ้นสุดเทศกาล(4วัน ก่อน Ash Wedesday ) masquerade





           กลุ่มคนที่พาเหรดก็จะเต้นจังหวะแซมบ้าตามท้องถนนในช่วงสุดสัปดาห์หรือทุกวันระหว่าง เทศกาล คาร์นิวัลตามปกติ แล้วคนที่จัด"blocos"จะ แต่งดนตรีของตัวเองเพื่อใช้ร้องและเต้นตลอดเวลาของการเดินพาเหรดควบคู่กับ เพลง เก่าๆของคาร์นิวัลโบราณในภาษา โปรตุเกสว่า"Marchihas de carnival "และแซมบ้าซึ่ง กลายเป็น คาสสิกไปแล้วงานเทศกาลรื่นเริง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศบราซิลเริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างยิ่งใหญ่อลังการตามหัว เมืองใหญ่ทั่วประเทศเช่นเมืองเซาเปาโลและนคร หลวง ริโอ เดอ จาเนโร ท่ามกลางสีสัน ของขบวนพาเหรดของเหล่าสาวประเภทสองและนักเต้นชาวบราซิลเลียนกว่า4,500ชีวิต ที่ประโคมโหมแต่งกายเลิศหรูฟูบานมาประชันกันในการแสดงและ การเต้นรำหลายแขนงโดยเฉพาะแนวแซมบ้าอย่างสุดมันส์ซึ่งทุกคนล้วนประชันกัน อย่างเต็มที่เสียงกลองกระหึ่มขึ้น พร้อม ๆ กับความสนุกสนานที่ระเบิดขึ้นในงานประจำปีที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากที่ สุดงานหนึ่งหลังจากที่เหล่านักเต้นจากโรงเรียนสอนการเต้นรำต่างๆฝึกซ้อมกัน มาอย่างดี ทั้งปีเพื่อได้มาโชว์ลีลาในงานนี้โดยเฉพาะโดยจะมีคณะกรรมการ ตัดสินให้รางวัลกับทีมที่เต้นรำได้อย่างมีศิลปะอลังการและยอดเยี่ยมเข้าตา มากที่สุดงานคาร์นิวัลระดับประเทศงาน นี้ไม่เป็นเพียงงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวบราซิล แต่ยังเป็นงานแข่งขันเต้นรำที่ดุเดือดมากที่สุดอีกด้วยเหล่า สาวประเภทสองเปิดเผยและยอมรับอย่างไม่เขินอายว่า พวกเธอใช้ซิลิโคนในการเสริมอกทำให้สรีระดูมีส่วนโค้งเว้าเพื่อ ให้ชุดที่สวมใส่เดินโชว์ในขบวนพาเหรดนั้นสวยงามและดูดีที่สุดจนทำให้"ซิลิ โคน"กลายมาเป็นสัญลักษณ์และเครื่องประดับประจำ งานคาร์นิวัลของประเทศบราซิลไปแล้ว






           งาน คาร์นิวัลที่ริโอ เดอ จาเนโร ถือเป็นประเพณีว่าจะต้องจัดขึ้นทุกปีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1930 อันเป็นช่วงเดียวกับที่แต่ละเขตนำการเต้นรำชุดสวย ๆ และเพลงประกอบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของขบวนแห่ ครั้นถึงปี 1932 ก็เริ่มมีการประชันขันแข่งกันจนถูกเรียกขานว่า คณะแซมบ้า (escolas de samba) เพลงแซมบ้ามีต้นกำเนิดมาจากดนตรีในแถบแอฟริกาตะวันตกที่มีกลองเสียงทุ้มต่ำ เป็นตัวนำ ในภาคใต้ของบราซิลจะถือว่าดนตรีจังหวะนี้เป็นสัญลักษณ์ของงานคาร์นิวัล 


           เทศกาลคาร์นิวัลในเมืองเวนิส จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อกว่า 1,000 ปีก่อน ในสมัยนั้นเป็นพิธีทางศาสนาของกลุ่มคนนอกรีต แต่ต่อมาได้กลายเป็นงานเทศกาลเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น ซึ่งเทศกาลคาร์นิวัลในเมืองเวนิส จะมีขึ้นเป็นเวลา 10 วัน นักท่องเที่ยวจะสวมหน้ากาก แต่งกายย้อนยุค มาร่วมงานเทศกาลคาร์นิวัลในเมืองเวนิสของอิตาลี
คาร์นิวัลเวนิส 2010









ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก : 
http://www.theology.ac.th/bit/index.php?option=com_content&task=view&id=391&Itemid=2 
http://www.link-pu.com/thai/modules/info/index.php?content=2:27 

วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music)


วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular  Music)


วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular  Music) หรือวงดนตรีลีลาศ ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไป ประกอบด้วย

เครื่องดนตรีี กลุ่มแซกโซโฟน กลุ่มเครื่องทองเหลือง และ กลุ่มเครื่องประกอบจังหวงปอปปูลามิวสิค ส่วนใหญ่มี  3 ขนาด

1.วงขนาดเล็ก(วง 4x4)  มีเครื่องดนตรี  12 ชิ้น ดังนี้

กลุ่มแซ็ก  ประกอบด้วย  อัลโตแซ็ก 1  คัน เทเนอร์แซ็ก 2  คันบาริโทน แซ็ก 1 คัน

กลุ่มทองเหลือง ประกอบด้วย ทรัมเป็ต 3  คัน ทรอมโบน 1 คัน

กลุ่มจังหวะ ประกอบด้วย  เปียโน 1 หลัง กีตาร์คอร์ด 1 ตัว เบส 1  ตัว กลองชุด  1  ชุด

(วง 4 x 4 หมายถึง ชุดแซก 4 ชุด ทองเหลือง 4 ชุดตามลำดับ ส่วนเครื่องประกอบจังหวะ 4 ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)

2.วงขนาดกลาง (5x5)มีเครื่องดนตรี 14 ชิ้น  คือ เพิ่มอัลโตแซ็ก และ ทรอมโบน

3.วงขนาดใหญ่  (5 x 7)  มี 16  ชิ้น  เพิ่ม  ทรัมเป็ตและทรอมโบนอย่างละตัว

วงคอมโบ (Combo  band) หรือสตริงคอมโบ เป็นวงที่เอาเครื่องดนตรีบางส่วนมาจาก  Popular  Music 

อีกทั้งลักษณะของเพลงและสไตล์การเล่นก็เหมือนกัน  จำนวนเครื่องดนตรีส่วนมากอยู่ระหว่างประมาณ  3 –10 ชิ้น เครื่องดนตรีจะมี 

พวกริทึม(Rhythm) และ พวกเครื่องเป่าทั้งลมไม้และเครื่องทองเหลือง  เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักคือ  กลองชุด  เบส  เปียโน

หรือมีเครื่องเป่าผสมด้วยจะเป็นเครื่องลมไม้หรือทองเหลืองก็ได้ไม่จำกัดจำนวน แต่รวมแล้วต้องไม่เหมือนกับปอปปูลามิวสิค

วงคอมโบก็เป็น สมอลล์ แบนด์  (small  Band)แบบหนึ่ง ดังนั้นวงนี้จึงเป็นวงที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก

จึงเหมาะสำหรับเล่นตามงานรื่นเริงทั่วๆ ไป นอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับเพลงประเภทไลท์มิวสิคอีกด้วย

เพลงไทยสากลและเพลงสากลในปัจจุบันที่ใช้วงคอมโบเล่นตามห้องอาหารหรืองานสังสรรค์ต่างๆ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี  ดังต่อไปนื้

1.แซ็กโซโฟน 2ทรัมเป็ต 3 ทรอมโบน 4 เปียโนหรือออร์แกน 5 กีตาร์คอร์ด 6 กีตาร์เบส


วงชาร์โด (Shadow)

 วงชาร์โด (Shadow)

 วงชาร์โด (Shadow) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ  20 ปีมานี่เองในอเมริกา
วงดนตรีประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือคณะThe Beattle หรือสี่เต่าทอง
เครื่องดนตรีในสมัยแรก  มี 4 ชิ้น  คือ
1. กีตาร์เมโลดี้ (หรือกีตาร์โซโล)
  2. กีตาร์คอร์ด 
3. กีตาร์เบส 
 4. กลองชุด
วงชาโดว์ ในระยะหลังได้นำออร์แกนและพวกเครื่องเป่า เช่น แซกโซโฟน  ทรัมเป็ตทรอมโบนเข้ามาผสม  และบางทีอาจมี ไวโอลินผสมด้วย
 เพลงของพวกนี้ส่วนใหญ่จะเร่าร้อน  ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่น  โดยเฉพาะเพลงประเภท  อันเดอร์กราว


วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วงดนตรีแชมเบอร์

                                     วงดนตรีแชมเบอร์

          การแสดงดนตรีแบบแชมเบอร์ (Chamber Music) เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณ สมัยนั้นดนตรีมีไว้สำหรับเจ้านายชั้นสูง เป็นวงดนตรีวงเล็ก บรรเลงเป็นกลุ่มตั้งแต่กลุ่มละ 2 คน ไปจนถึง 9 คน ใช้บรรเลงในห้องโถงหรือสถานที่ที่ซึ่งไม่ใหญ่โตมีผู้ฟังไม่มาก บางยุคสมัยก็นิยมแสดงในสวนหย่อม บทเพลงที่ใช้บรรเลง เป็นบทเพลงที่ประพันธ์สั้นๆ ต้องประพันธ์ขึ้นสำหรับวงแชมเบอร์นั้นๆ โดยเฉพาะ เครื่องดนตรีอาจเป็นประเภทเดียวกันหรือต่างประเภทกันก็ได้ ลักษณะสำคัญของดนตรีแบบนี้ คือ ความเด่นชัดของเสียงเครื่องดนตรีในขณะบรรเลง ซึ่งต้องการแสดงเทคนิคและทักษะความสามารถของผู้บรรเลงและการประสานเสียง แต่ละแนวเสียงจะใช้นักดนตรีบรรเลงเพียง 1 คนเท่านั้น คีตกวีเกือบทุกคนจะมีผลงานแต่งเพลงแบบวงแชมเบอร์ ซึ่งการประสมวงดนตรีก็อาจแตกต่างกันออกไป ตามความนิยม ในปัจจุบันเรามักพบเห็นการแสดงดนตรีแบบแชมเบอร์ตามงานต่างๆ เช่น งานแต่งงานหรืองานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งนิยมบรรเลงเพลงที่ฟังสบายๆ ทั้งเพลงคลาสสิกและเพลงตามสมัยนิยม มีตั้งแต่กลุ่มละ 2 คน ไปจนถึง 9 คน แต่ละกลุ่มมีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันตามจำนวนผู้บรรเลงดังนี้

1.1 กลุ่มละ 2 คน เรียกว่า ดูเอต (Duet) หรือ ดูโอ (Duo)

1.2 กลุ่มละ 3 คน เรียกว่า ทรีโอ (Trio)

1.3 กลุ่มละ 4 คน เรียกว่า ควอร์เทต (Quartet)

1.4 กลุ่มละ 5 คน เรียกว่า ควินเทต (Quintet)

1.5 กลุ่มละ 6 คน เรียกว่า เซกเทต (Sextet)

1.6 กลุ่มละ 7 คน เรียกว่า เซพเทต (Septet)

1.7 กลุ่มละ 8 คน เรียกว่า ออคเทต (Octet)
 1.8 กลุ่มละ 9 คน เรียกว่า โนเนต (Nonet)



วงแจ๊ส (Jazz Band)

                                                                  วงแจ๊ส (Jazz Band)

                   วงดนตรีประเภทแจ๊สหรือตระกูลแจ๊สเกิดจากพวกทาสชาวนิโกร เมืองนิวออร์ลีน รัฐโอไฮโอ แถบฝั่งแม่น้ำมิสซิสซิปปีประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจากที่พวกเขาเหล่านั้นได้ถูกใช้งานเยี่ยงทาส ชาวผิวดำต้องทำงานหนักและถูกกดขี่ข่มเหงจากชาวผิวขาวอย่างหนัก เมื่อมีเวลาว่างจากการทำงานก็มารวมกลุ่มกันร้องรำทำเพลง ใช้เครื่องดนตรีง่าย ๆ เพื่อให้หายเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน เป็นการผ่อนคลายอารมณ์ จึงเกิดเป็นดนตรีแจ๊สขึ้น ต่อมาได้รับความนิยมไปทั่วโลกและเกิดดนตรีแจ๊สขึ้นในหลายลักษณะ ได้แก่ บลูแจ๊ส (Blue Jazz) นิวออร์ลีนและดิ๊กซี่แลนด์สไตล์ (New Orlean and Dixieland Style) โมเดิ้ลสไตล์ (Modern Style) และป๊อปสไตล์ (Pop Style) เป็นต้น
             วงดนตรีสากลประเภทวงแจ๊ส เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อความสนุกสนาน ตลอดจนใช้ประกอบการเต้นรำ ลีลาศ รำวง ส่วนบทเพลงที่ใช้บรรเลงมีทั้งบทเพลงประเภทบรรเลงโดยเฉพาะ และบทเพลงร้องทั่ว ๆ ไป เช่น เพลงแจ๊ส เพลงสากล เพลงไทยสากล เพลงไทยลูกทุ่ง เป็นต้น ส่วนเครื่องดนตรีที่ใช้จัดวงแจ๊สประกอบด้วย
                    1.1   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (woodwind instruments) ได้แก่
1)         อีแฟลตอัลโตแซกโซโฟน (Eb Alto Saxophone)   2)   บีแฟลตเทเนอร์แซกโซโฟน (Bb Tenor Saxophone)
3)         อีแฟลตบราริโทนแซกโซโฟน (Eb Baritone Saxophone)  4)    บีแฟลตคลาริเนต (Bb Clarinet)
5)         ฟลุต (Flute)

                    1.2   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องโลหะหรือพวกแตร ได้แก่
                             1)  บีแฟลตทรัมเป็ต (Bb Trumpet)
                             2)  สไลด์ทรอมโบน (Slide Trombone)
ทรัมเป็ต (Trumpet)

ทรอมโบน (Trombone)

                    1.3   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องคีย์บอร์ด ได้แก่ เปียโน (Piano) หรือ ออร์แกน (Organ)
เปียโน (Piano)                            ออร์แกน (Organ)

                    1.4   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องไฟฟ้า ได้แก่ กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบสไฟฟ้า เปียโนหรือออร์แกนไฟฟ้า
            กีตาร์ไฟฟ้า (Electric Guitar)        กีตาร์เบสไฟฟ้า (Bass Guitar)

                    1.5   เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีหรือเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ กลองชุด
            

วงโยธวาทิต

                                                                วงโยธวาทิต

            ประวัติวงโยธวาทิต  ความหมายของวงโยธวาทิต  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  หมายถึง "วงดนตรีที่บรรเลงโดยทหารซึ่งมาจากคำว่า  โยธ  แปลว่า  ทหาร  รวมกับคำว่า  วาทิต  แปลว่า  ดนตรี
หรือผู้บรรเลงดนตรี  ส่วนในรากศัพท์ภาษาอังกฤษใช้คำว่า  Military  Band  โดยคำว่า  Military หมายถึง
กองทัพ  ส่วนคำว่า  Band  มาจากคำว่า  Banda  (ในภาษาอิตาลี)  ใช้เรียกวงดนตรีประเภทหนึ่งที่ผสมวง
โดยมีเครื่องดนตรีหลัก ๆ  ด้วยกัน  3  กลุ่ม  คือ
            1.  กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้  (Woodwind  Instrument)
            2.  กลุ่มเครื่องเป่าทองเหลือง  (Brass  Instrument)
            3.  กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ  (Percussion  Instrument)
            วงโยธวาทิตเป็นวงดนตรีสำหรับทหาร  มีจุดประสงค์ในการใช้งานคือ  การร้องเพลงซอยเท้าเข้าสู่สนามรบของทหาร  บทบรรเลงส่วนใหญ่เป็นเพลงมาร์ช (March)หรือใช้ประกอบการสวนสนามของทหารเพื่อปลุกใจในยามสงครามหรือประกอบพิธีต่าง ๆ ของทหารโดยเฉพาะ  มีผู้บรรเลงจำนวนมาก  มีเครื่องดนตรีประเภททรัมเป็ต (Trumpet) เป็นเดรื่องนำ "แตรทรัมเป็ต" ที่เป็นเครื่องนำขบวนนั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนกลุ่มใดเรียก  เช่น  แตรงอน , Alphorn , Buisine , Lituus , Slide ,Trumpet หรือทรัมเป็ตที่ใช้ในรัชกาลที่  1  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เรียกว่า  "แตรวิลันดา" เสียงแตรที่เป่าจะเป็นสัญญาณที่ใช้ต่างกันตามโอกาส  เช่น  สัญญาณที่ให้ทหารบุกโจมตี   สัญญาณรวมพล  สัญญาณแจ้งเหตุ  หรือใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น  เพลงเดิน  เพลงรุก  เพลงรบ  เพลงถอย  เป็นต้น
           จากความหมายของวงโยธวาทิตดังกล่าว  สามารถสรุปโดยสังเขปได้ว่า  วงโยธวาทิตหมายถึง
วงดนตรีที่ยืนและ/หรือเดินบรรเลง  รวมทั้งการบรรเลงประกอบการสวนสนาม  การบรรเลงประกอบพิธีและบรรเลงสำหรับการแสดงในที่สาธารณะที่มีผู้ชมและผู้ฟัง.





มารยาทในการชมการแสดงดนตรี

             
   มารยาทในการชมการแสดงดนตรี


1. การแต่งกายให้สุภาพ
ควรแต่งกายให้สุภาพ ตามแบบสากลนิยม รองเท้าแตะ กางเกงยีนส์ก็ไม่ถือว่าสุภาพครับขอรองเท้าหุ้มส้น กระโปรง กางเกงขายาว ถ้าเสื้อยืดก็เป็นคอปก ก็น่าจะใช้ได้
2. ไปถึงสถานที่ก่อนเวลา
อย่างน้อยก็ก่อนนักดนตรีเริ่มบรรเลง ถ้าไปสาย แล้วนักดนตรีเริ่มบรรเลงไปแล้ว ควรรอให้เพลงที่กำลังบรรเลงจบเสียก่อน แล้วรีบเข้านั่งชมก่อนที่จะเริ่มบรรเลงเพลงต่อไป ถ้าเข้าไปขณะที่กำลังบรรเลงเพลงอยู่ถือเป็นการเสียมารยาทที่ค่อนข้างจะหนักหนา
3. อ่านสูจิบัตร
ในสูจิบัตรจะเขียนลำดับรายการแสดง และอาจมีเนื้อหาสาระเพิ่มเติม เสริมความเข้าใจเพลงและการแสดงตามความเหมาะสม
4. ตั้งใจฟัง
งดใช้เสียงรบกวนใด ๆ เช่น ไม่คุยจนเป็นการรบกวน และเด็กที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ผู้ปกครองไม่สามารถควบคุมให้เด็กอยู่นิ่งๆเป็นเวลานานๆได้ ต้องส่งเสียงร้องงอแงไม่ควรนำไป ปิดโทรศัพท์มือถือ แม้ระบบสั่นก็ไม่ควรใช้ เพราะระบบสั่นคนข้างๆก็ยังรู้สึกได้ มันไม่ได้มีผลอะไรมากแต่ก็น่ารำคาญพอสมควรเหมือนกัน ไม่ควรกระทำอย่างยิ่งคือ รับโทรศัพท์ เราอาจจะคิดว่าคุยแป๊บเดียวไม่เห็นเป็นไร แต่ก็ขอให้เห็นใจคนรอบข้างที่ต้องการมาชมดนตรีเงียบ ๆด้วย นักแสดง นักร้อง หรือนักดนตรีต้องใช้สมาธิ
5. การปรบมือ
การปรบมือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งสำหรับมารยาทการชมดนตรีคลาสสิก ตามปกติเราควรปรบมือเมื่อนักดนตรีบรรเลงเพลงจบหนึ่งเพลง การชมดนตรีคลาสสิกก็เหมือนกัน แต่เราต้องทำความเข้าใจกับลักษณะของบทเพลงนั้นๆซักเล็กน้อย เพราะเรามักจะเคยชินว่า การเริ่มบรรเลงเพลงและหยุดลงครั้งหนึ่ง...คือการจบหนึ่งเพลง แต่ลักษณะของเพลงคลาสสิกบางประเภทไม่ใช่เป็นเช่นนั้น แต่ละท่อนย่อยๆของหนึ่งเพลงเรียกว่า movement (มูฟเมนท์) ปกติแล้วนักดนตรีจะหยุดพักระหว่างมูฟเมนท์เล็กน้อย ตามมารยาทที่ถูกต้อง เราไม่ควรปรบมือระหว่างมูฟเมนท์ บางครั้งผู้ชมนึกว่าจบหนึ่งเพลงแล้วปรบมือ

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นักดนตรีในตำนาน

นักดนตรีในตำนาน

 

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท


 
วอล์ฟกัง อามาเดอุส โมซาร์ท (เยอรมัน: Wolfgang Amadeus Mozart ภาษาเยอรมัน: [ˈvɔlfɡaŋ amaˈdeus ˈmoːtsaʁt]) 27 มกราคม พ.ศ. 2299 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1756 - 1791) เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก โมซาร์ทเกิดที่เมืองซาลซ์บูร์ก เขามีงานประพันธ์เพลง 700 ชิ้นรวมทั้งโอเปร่า (ดนตรีซึ่งมีเนื้อเรื่อง) ชื่อ ดอน โจวันนี (Don Giovanni) และ ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ปัจจุบันผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ถูกนำมาจัดจำหน่ายเป็นสื่อต่าง ๆ มากมาย

ประวัติ

 วัยเด็ก (ค.ศ. 1756 - ค.ศ. 1772)


สถานที่เกิดของโมซาร์ท (Getreidegasse 9, Salzburg, Austria)
โมซาร์ทเป็นบุตรของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน เลโอโปลด์ โมซาร์ท (ค.ศ. 1719 - ค.ศ. 1787) รองคาเปลล์ไมสเตอร์ในราชสำนักเจ้าชายอาร์ชบิชอปแห่งซาลซ์บูร์ก กับอันนา มาเรีย แพร์ท (Anna Maria Pert) (ค.ศ. 1720 - ค.ศ. 1778) โวล์ฟกัง อามาเด (โมซาร์ทมักจะเรียกตนเองว่า "Wolfgang Amadè Mozart" ไม่เคยถูกเรียกว่า อมาเดอุส ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ ไม่แม้กระทั่งในรายการบันทึกผู้รับศีลล้างบาป โดยได้รับชื่อละตินว่า "Joannes Chrysostomus Wolfgangus Theophilus Mozart" ) ได้แสดงได้เห็นอัจฉริยภาพทางดนตรี ก่อนวัยอันควร ตั้งแต่อายุสามขวบ เขามีทักษะการฟังที่ยอดเยี่ยม และมีความจำที่แม่นยำ ความสามารถพิเศษยิ่งยวด ทำให้เป็นที่น่าฉงนแก่ผู้คนรอบข้าง และเป็นแรงกระตุ้นให้บิดาของเขา ให้สอนฮาร์ปซิคอร์ดแก่เขา ตั้งแต่อายุห้าขวบ โมซาร์ทน้อยเรียนไวโอลินและออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีชิ้นต่อมา ตามด้วยวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน เขารู้จักการแกะโน้ตจากบทเพลงที่ได้ยิน และเล่นทวนได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่วัยยังไม่รู้จักอ่านเขียนและนับเลข เมื่ออายุหกขวบ (ค.ศ. 1762) เขาก็แต่งเพลงชิ้นแรกได้แล้ว (เมนูเอ็ต KV.2, 4 และ 5 และ อัลเลโกร KV.3)


ครอบครัวโมซาร์ท เดินทางออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ต: เลโอโปลด, โวล์ฟกัง, และแนนเนิร์น
ระหว่าง ค.ศ. 1762 ถึง ค.ศ. 1766 เขาได้เดินทางออกตระเวนแสดงคอนเสิร์ตกับบิดา (ที่เป็นลูกจ้างของซีกิสมุนด์ ฟอน ชรัทเทนบัค (Schrattenbach) เจ้าชายอาร์ชบิชอปแห่งซาลซ์บูร์กในขณะนั้น) และมาเรีย อันนา พี่สาวคนโต (มีชื่อเล่นว่า "แนนเนิร์น" เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1751) พวกเขาเปิดการแสดงในนครมิวนิคเป็นแห่งแรก ตามมาด้วยกรุงเวียนนา ก่อนที่จะออกเดินสายครั้งใหญ่ทั่วทวีปยุโรป ซึ่งเริ่มตั้งแต่ มิวนิค ออกสบูร์ก มันน์ไฮม์ แฟรงค์เฟิร์ต บรัสเซล ปารีส ลอนดอน เฮก อัมสเตอดัม ดิจง ลียง เจนีวา โลซาน) การแสดงของเขาประทับใจผู้ชมเป็นอย่างมาก และยังทำให้เขาได้พบกับแนวดนตรีใหม่ๆอีกด้วย เขาได้พบกับนักดนตรีสามคนที่ต้องจดจำเขาไปตลอดชีวิต อันได้โยฮัน โชเบิร์ต ที่กรุงปารีส โยฮันน์ คริสเตียน บาค (บุตรชายคนรองของ โยฮันน์ เซบัสเตียน บัค) ที่กรุงลอนดอน และเบอร์นัว แมร์ล็องผู้ซึ่งไม่เป็นที่รู้จัก ที่เมืองปาดู แมร์ล็องนี่เองที่ทำให้โมซาร์ทได้ค้นพบ เปียโนฟอร์ท ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 และโอเปร่าในแบบของชาวอิตาเลียน แมร์ล็องยังได้สอนให้เขาแต่งซิมโฟนีอีกด้วย เมื่อปี ค.ศ. 1767โมซาร์ทได้ประพันธ์โอเปร่าเรื่องแรก ตั้งแต่อายุได้ 11 ปี ชื่อเรื่อง อพอลโล กับ ไฮยาซิน (K.38) เป็นบันเทิงคดีภาษาละติน ที่แต่งให้เปิดแสดงโดยคณะนักเรียน ของโรงเรียนมัธยม ที่ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแห่งเมืองซัลสบูร์ก เมื่อเขาเดินทางกลับถึงประเทศออสเตรีย เขาได้เดินทางไปยังกรุงเวียนนาบ่อยครั้ง และได้แต่งโอเปร่าสองเรื่องแรก ได้แก่ นายบาสเตียน กับ นางบาสเตียน และ ลา ฟินตา ซ็อมปลิซ ตลอดช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1768 เมื่อมีอายุได้ 12 ปี


ภาพเขียนแสดงโมซาร์ทในวัยเด็ก
ในปีถัดมา เขาได้รับการแต่งตั้ง จากเจ้าชายอาร์คบิชอป ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต บิดาของเขาได้ขอลาพักงาน โดยไม่รับเงินเดือนเพื่อพาเขาไปท่องเที่ยวที่ประเทศอิตาลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1769 ถึง ค.ศ. 1773 โมซาร์ทได้เดินทางไปประเทศอิตาลีหลายครั้งเพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับโอเปร่า อันเป็นรูปแบบดนตรีที่เขาใช้ประพันธ์ การแต่งงานของฟิกาโร (Le Nozze di Figaro) ,ดอน โจวานนี ,โคสิ ฟาน ตุตเต้ ,ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ฯลฯ เขาสามารถนำเสียงดนตรีอันสูงส่งเหล่านี้ออกมาสู่โลกได้ จากใส่ใจในความกลมกลืนของเสียงร้อง และ ความสามารถในการควบคุมเสียง อันเกิดจากเครื่องดนตรีหลากชิ้น
โชคไม่ดีที่ ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1771 เจ้าชายอาร์ชบิชอปซีกิสมุนด์ ฟอน ชรัทเทนบัคสิ้นพระชนม์ เจ้าชายอาร์ชบิชอปฮีโรนือมุส ฟอน คอลโลเรโดได้กลายมาเป็นนายจ้างคนใหม่ของเขา

รับใช้ราชสำนักซาลซ์บูร์ก (ค.ศ. 1773 - ค.ศ. 1781)


โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท
โมซาร์ทไม่มีความสุขที่บ้านเกิดของเขา เนื่องจากนายจ้างใหม่ไม่ชอบให้เขาออกไปเดินทางท่องเที่ยว และยังบังคับรูปแบบทางดนตรี ที่เขาได้ประพันธ์ให้กับพิธีทางศาสนา เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาไม่ยินดีที่จะยอมรับข้อบังคับนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอาร์ชบิชอป เสื่อมถอยลงในอีกสามปีต่อมา โชคดีที่เขาได้รู้จักกับโยเซฟ ไฮเดิน ซึ่งก็ได้มาเป็นเพื่อนโต้ตอบทางจดหมาย และเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดชีวิต
"ข้าต้องการพูดต่อหน้าพระเจ้า ในฐานะชายผู้ซื่อสัตย์ บุตรชายของท่านเป็นคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ข้าเคยรู้จัก ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักเป็นการส่วนตัวหรือรู้จักเพียงในนาม เขามีรสนิยม และนอกเหนือจากนั้น เป็นศาสตร์ทางการประพันธ์ดนตรีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด"
ในจดหมายที่ โยเซฟ ไฮเดิน เขียนถึง เลโอโปลด์ โมซาร์ท

"มีเขาเพียงคนเดียวเท่านั้นที่รู้จักเคล็ดลับที่จะทำให้ข้าหัวเราะ และสัมผัสจิตวิญญาณส่วนที่อยู่ลึกสุดของข้าเอง"
วอล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท กล่าวถึงโยเซฟ ไฮเดิน
ในปีค.ศ. 1776 โมซาร์ทมีอายุได้ 20 ปี และได้ตัดสินใจเดินทางออกจากเมืองซาลซ์สบูร์ก อย่างไรก็ดีเจ้าชายอาร์ชบิชอปได้ปฏิเสธไม่ให้บิดาของเขาไปด้วย และบังคับให้เขาลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต หลังจากการเตรียมการเป็นเวลาหนึ่งปี โมซาร์ทได้จากไปพร้อมกับมารดา โดยเดินทางไปยังนครมิวนิคเป็นแห่งแรก ที่ซึ่งเขาหาตำแหน่งงานไม่ได้ จากนั้นจึงไปที่เมืองเอาก์สบูร์ก และท้ายสุดที่มันน์ไฮม์ ที่ซึ่งเขาได้ทำความรู้จักกับนักดนตรีมากมาย อย่างไรก็ดี แผนการที่จะหาตำแหน่งงานของเขาไม่เป็นผลสำเร็จ ในระหว่างนั้นเองที่เขาได้ตกหลุมรักอลอยเซีย วีเบอร์ นักเต้นระบำแคนตาตาสาวอย่างหัวปักหัวปำ ที่ทำให้บิดาของเขาโกรธมาก และขอให้เขาอย่าลืมอาชีพนักดนตรี โมซาร์ทมีหนี้สินล้นพ้นตัว เขาเริ่มเข้าใจว่าจะต้องออกหางานทำต่อไป และออกเดินทางไปยังกรุงปารีสในเดือนมีนาคม ปีค.ศ. 1778

อิสระที่กรุงเวียนนา (ค.ศ. 1782-ค.ศ. 1791)

คอนสแตนซ์ วีเบอร์ ภรรยาของโมซาร์ท
ในปีค.ศ. 1781โมซาร์ทเดินทางไปยังกรุงเวียนนากับเจ้าชายอาร์ชบิชอปฟอน คอลโลเรโด ผู้ได้เลิกจ้างโมซาร์ทที่เวียนนา โมซาร์ทจึงตั้งรากฐานอยู่ที่เวียนนา เมื่อเห็นว่าชนชั้นสูงเริ่มชอบใจในตัวเขา และในปีเดียวกันนั้น โมซาร์ทได้แต่งงานกับคอนสแตนซ์ วีเบอร์ (นักร้อง(โซปราโน) ซึ่งเป็นน้องสาวของ อลอยเซีย วีเบอร์ ซึ่งโมซาร์ทเคยหลงรัก) โดยที่บิดาของโมซาร์ทไม่เห็นด้วยกับงานวิวาห์นี้ โมซาร์ทและคอนสแตนซ์มีลูกด้วยกันถึงหกคน ซึ่งเพียง 2 คนรอดพ้นวัยเด็ก
ปีค.ศ. 1782เป็นปีที่ดีสำหรับโมซาร์ท โอเปร่าเรื่อง Die Entführung aus dem Serail ประสบความสำเร็จอย่างมาก และโมซาร์ทก็ได้แสดงคอนเสิร์ต ชุดที่เขาเล่นในเปียโนคอนแซร์โตของเขาเอง


ระหว่างปีค.ศ. 1782 - ค.ศ. 1783 โมซาร์ทได้รับอิทธิพลจากผลงานของบราค และแฮนเดลผ่านบารอนก็อตตเฟร็ด วอน สวีเทน(Baron Gottfried van Swieten) แนวเพลงของโมซาร์ทจึงได้รับอิทธิพลจากยุคบารอคตั้งแต่นั้นมา อย่างที่เห็นได้ชัดในท่อนฟิวก์ของ ขลุ่ยวิเศษ และซิมโฟนี หมายเลข 41
ในช่วงนี้เองโมซาร์ทได้มารู้จักและสนิทสนมกับโยเซฟ ไฮเดิน โดยทั้งสองมักจะเล่นในวงควอเตทด้วยกัน และโมซาร์ทก็ยังเขียนควอเตทถึงหกชิ้นให้เฮเด้น เฮเด้นเองก็ทึ่งในความสามารถของโมซาร์ท และเมื่อได้พบกับลีโอโปล์ด พ่อของโมซาร์ท ได้กล่าวกับเขาว่า "ต่อหน้าพระเจ้าและในฐานะคนที่ซื่อสัตย์ ลูกของท่านเป็นนักประพันธ์ที่ดีที่สุดที่ผมเคยได้พบหรือได้ยิน เขามีรสนิยม และมากกว่านั้น เขามีความรู้เรื่องการประพันธ์" เมื่อโมซาร์ทอายุมากขึ้น เขาก็ได้รับอิทธิพลจากนักปราชญ์แห่งศตวรรษที่ 18 และเป็นฟรีเมสันที่อยู่ในสาขาโรมัน คาทอลิค โอเปร่าสุดท้ายของโมซาร์ทแสดงถึงอิทธิพลฟรีเมสันนี้
ชีวิตของโมซาร์ทมักพบกับปัญหาทางการเงินและโรคภัยไข้เจ็บ โมซาร์ทย่อมไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับงานของเขา และเงินที่เขาได้รับนั้นก็ถูกผลาญด้วยวิถีชีวิตที่หรูหราอลังการ
โมซาร์ทใช้ชีวิตในช่วงปีค.ศ. 1786 ที่กรุงเวียนนาในอพาร์ตเมนท์ที่จนถึงวันนี้ยังสามารถเข้าชมได้ที่ดอมกาส 5 (Domgasse 5)หลังโบสถ์เซนต์สตีเฟน (St. Stephen's Cathedral) โมซาร์ทประพันธ์ การแต่งงานของฟิกาโร และ Don Giovanni ณ ที่แห่งนี้

บั้นปลายชีวิต

บั้นปลายและการเสียชีวิตของโมซาร์ทยังคงเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปยากสำหรับนักวิชาการ เพราะมีทั้งตำนานและเรื่องเล่าแต่ขาดหลักฐาน มีทฤษฏีหนึ่งสันนิษฐานว่าสุขภาพของโมซาร์ทเริ่มแย่ลงทีละเล็กทีละน้อย และโมซาร์ทเองก็รับรู้สภาพนี้ซึ่งปรากฏขึ้นในงานประพันธ์ของเขา แต่นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยอ้างถึงจดหมายที่โมซาร์ทเขียนถึงครอบครัว ที่ยังมีทัศนะคติที่สดใส และปฏิกิริยาของครอบครัวเมื่อได้ข่าวเรื่องการเสียชีวิตของโมซาร์ท การเสียชีวิตของโมซาร์ทยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ใบมรณภาพของโมซาร์ทบันทึกไว้ว่าเขาเสียชีวิตเพราะ"ไข้ไทฟอยด์" และมีทฤษฎีมากมายที่พยายามอธิบายการเสียชีวิตให้ละเอียดมากขึ้น
โมซาร์ทเสียชีวิตในเวลาประมาณ 01.00 น. วันที่ 5 เดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1791 ในขณะที่เขากำลังประพันธ์เพลงเรเควียม ที่ประพันธ์ไม่เสร็จ ตามตำนานที่เล่าลือ โมซาร์ทตายโดยที่ไม่เหลือเงินและถูกฝังในหลุมศพของคนอนาถา ร่างของโมซาร์ทถูกฝังอย่างเร่งรีบในที่ฝังศพสาธารณะ เพราะระหว่างที่นำศพไปนั้นเกิดมีพายุแรงและฝน ลูกเห็บตกอย่างหนัก ทำให้หีบศพถูกหย่อนไว้ร่วมกับศพคนยากจนอื่นๆ ไม่มีเครื่องหมายใดว่านี่คือศพของโมซาร์ท
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ โมซาร์ทไม่เป็นที่นิยมชมชอบอย่างที่เคยเป็นอีกต่อไป เขายังคงมีงานที่มีรายได้ดีจากราชสำนัก และยังได้รับเงินอุดหนุนจำนวนมากจากส่วนอื่นๆของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรุงปราก ยังมีจดหมายขอความช่วยเหลือทางการเงินของโมซาร์ทหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักฐานว่าเขาจนเพราะรายจ่ายเกินรายรับ ศพของเขาไม่ได้ถูกฝังในหลุมฝังศพรวม แต่ในสุสานของชุมชนตามกฎหมายของปีค.ศ. 1783 แม้ว่าหลุมศพดั้งเดิมในสุสานเซนต์มาร์กจะหายไป แต่ก็มีป้ายหลุมศพที่ตั้งไว้เป็นอนุสรณ์สถานในเซนทรัลไฟรด์ฮอฟ
ในปีค.ศ. 1809 คอนสแตนซ์ได้แต่งงานใหม่กับจอร์จ นีโคเลาส์ ฟอน นีสเสน นักการทูตชาวเดนมาร์ก (ชาตะค.ศ. 1761 มรณะค.ศ. 1826) ผู้ซึ่งหลงใหลคลั่งใคล้ในตัวโมซาร์ทอย่างมาก ถึงกับแต่งเรื่องราวเกินจริงจากจดหมายของโมซาร์ท และแต่งชีวประวัติของคีตกวีเอกอีกด้วย
โมซาร์ทมีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยา และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยรัตนโกสินทร์

ผลงานชิ้นเอก (บางส่วน)

คาตาล็อกเคอเชล (Köchel catalogue)

ในปีภายหลังการเสียชีวิตของโมซาร์ท ได้มีความพยายามหลายครั้งที่จะจัดเรียงบัญชีผลงานของโมซาร์ท และเป็นลุดวิก ฟอน เคอเชล (Ludwig von Köchel) ที่ประสบความสำเร็จ และในปัจจุบันผลงานของโมซาร์ทมักจะมีตัวเลขของเคอเชลติดกำกับอยู่ อย่างเช่น"เปียโนคอนแชร์โตในบันไดเสียงเอเมเจอร์" มักเรียกกันง่ายๆ ว่า "K. 488" หรือ "KV 488" ได้มีการดัดแปลงคาตาล็อกนี้เป็นจำนวน 6 ครั้งด้วยกัน

เพลงสวด

- Grande messe en ut mineur KV.427 (1782-83, เวียนนา), แต่งไม่จบ
- Krönungsmesse (พิธีมิซซาเพื่อขึ้นครองราชย์) en ut majeur KV.317 (1779)

อุปรากร

- Die Schuldigkeit des ersten Gebotes (ความผูกมัดของบัญญัติข้อที่หนึ่ง, KV 35, 1767, ซัลสบูร์ก)
- Apollo et Hyacinthus (อพอลโลและไฮยาซินท์, KV 38, 1767, ซัลสบูร์ก)
- Bastien und Bastienne (บาสเตียนและบาสเตียนเน่, KV 50, 1768, เบอร์ลิน)
- La finta semplice (ผู้โง่เขลาจอมปลอม, KV 196, 1775, มิวนิก)
- Mitridate, re di Ponto (ไมทริตาตี ราชาแห่งปอนตุส, KV 87, 1770, มิลาน)
- Ascanio in Alba (อัสคานิโอในอัลบา, KV 111, 1771, มิลาน)
- Il sogno di Scipione (ฝันของสคิปิโอเน่, KV 126, 1772, ซัลสบูร์ก)
- Lucio Silla (ลูชิโอ ซิลล่า, KV 135, 1772, มิลาน)

ซิมโฟนี
Symphonie en fa majeur KV.75
Symphonie en fa majeur KV.76
Symphonie en fa majeur KV.Anh.223
Symphonie en ré majeur KV.81
Symphonie en ré majeur KV.95
Symphonie en ré majeur KV.97
Symphonie en si bémol majeur KV.Anh.214
Symphonie en si bémol majeur KV.Anh.216
Symphonie en sol majeur «Old Lambach» (2e édition) KV.Anh.221
Symphonie en ut majeur KV.96
Symphonie No 1 en mi b majeur KV.16 (1764-1765)

ลุดวิจ ฟาน เบโทเฟน

 
ลุดวิก ฟาน บีโธเฟ่น (เยอรมัน: Ludwig van Beethoven; [ˈluːtvɪç fan ˈbeːt.hoːfn̩]; 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 - 26 มีนาคม ค.ศ. 1827) เป็นคีตกวีและนักเปียโนชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี
     เบโธเฟ่นเป็นตัวอย่างของศิลปินยุคโรแมนติกผู้โดดเดี่ยว และไม่เป็นที่เข้าใจของบุคคลในยุคเดียวกันกับเขา ในวันนี้ เขาได้กลายเป็นคีตกวีที่มีคนชื่นชมยกย่องและฟังเพลงของเขากันอย่างกว้างขวางมากที่สุดคนหนึ่ง ตลอดชีวิตของเขามีอุปสรรคนานัปการที่ต้องฝ่าฟัน ทำให้เกิดความเครียดสะสมในใจเขา ในรูปภาพต่างๆ ที่เป็นรูปเบโธเฟน สีหน้าของเขาหลายภาพแสดงออกถึงความเครียด แต่ด้วยจิตใจที่แข็งแกร่งของเขา ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆในชีวิตของเขาได้ ตำนานที่คงอยู่นิรันดร์เนื่องจากได้รับการยกย่องจากคีตกวีโรแมนติกทั้งหลาย เบโธเฟ่นได้กลายเป็นแบบอย่างของพวกเขาเหล่านั้นด้วยความเป็นอัจฉริยะที่ไม่มีใครเทียมทาน ซิมโฟนีของเขา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งซิมโฟนีหมายเลข 5 ซิมโฟนีหมายเลข 6 ซิมโฟนีหมายเลข 7 และ ซิมโฟนีหมายเลข 9) และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนที่เขาประพันธ์ขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอนแชร์โตหมายเลข 4 และ หมายเลข 5) เป็นผลงานที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่ก็มิได้รวมเอาความเป็นอัจฉริยะทั้งหมดของคีตกวีไว้ในนั้น

ประวัติ
 
          ลุดวิก ฟาน เบโธเฟ่นเกิดที่เมืองบอนน์ (ประเทศเยอรมนี) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 และได้เข้าพิธีศีลจุ่มในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1770 เป็นลูกชายคนรองของโยฮันน์ ฟาน เบโธเฟ่น (Johann van Beethoven) กับ มาเรีย มักเดเลนา เคเวริค (Maria Magdelena Keverich) ขณะที่เกิดบิดามีอายุ 30 ปี และมารดามีอายุ 26 ปี ชื่อต้นของเขาเป็นชื่อเดียวกับปู่ และพี่ชายที่ชื่อลุดวิกเหมือนกัน แต่เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย ครอบครัวของเขามีเชื้อสายเฟลมิช (จากเมืองเมเชเลนในประเทศเบลเยียม) ซึ่งก็เป็นเหตุผลว่าเหตุใด นามสกุลของเขาจึงขึ้นต้นด้วย ฟาน ไม่ใช่ ฟอน ตามที่หลายคนเข้าใจ
บิดาเป็นนักนักร้องในคณะดนตรีประจำราชสำนัก และเป็นคนที่ขาดความรับผิดชอบ ซ้ำยังติดสุรา รายได้เกินครึ่งหนึ่งของครอบครัวถูกบิดาของเขาใช้เป็นค่าสุรา ทำให้ครอบครัวยากจนขัดสน บิดาของเขาหวังจะให้เบโธเฟ่น ได้กลายเป็นนักดนตรีอัจฉริยะอย่าง โมซาร์ท นักดนตรีอีกคนที่โด่งดังในช่วงยุคที่เบโธเฟ่นยังเด็ก จึงเริ่มสอนดนตรีให้ใน ค.ศ. 1776 ขณะที่เบโธเฟ่นอายุ 5 ปี
แต่ด้วยความหวังที่ตั้งไว้สูงเกินไป (ก่อนหน้าเบโธเฟ่นเกิด โมซาร์ทสามารถเล่นดนตรีหาเงินให้ครอบครัวได้ตั้งแต่อายุ 6 ปี บิดาของเบโธเฟ่นตั้งความหวังไว้ให้เบโธเฟ่นเล่นดนตรีหาเงินภายในอายุ 6 ปีให้ได้เหมือนโมซาร์ท) ประกอบกับเป็นคนขาดความรับผิดชอบเป็นทุนเดิม ทำให้การสอนดนตรีของบิดานั้นเข้มงวด โหดร้ายทารุณ เช่น ขังเบโธเฟ่นไว้ในห้องกับเปียโน 1 หลัง , สั่งห้ามไม่ให้เบโธเฟ่นเล่นกับน้อง ๆ เป็นต้น ทำให้เบโธเฟ่นเคยท้อแท้กับเรื่องดนตรี แต่เมื่อได้เห็นสุขภาพมารดาที่เริ่มกระเสาะกระแสะด้วยวัณโรค ก็เกิดความพยายามสู้เรียนดนตรีต่อไป เพื่อหาเงินมาสร้างความมั่นคงให้ครอบครัว
ค.ศ. 1777 เบโธเฟ่นเข้าเรียนโรงเรียนสอนภาษาละตินสำหรับประชาชนที่เมืองบอนน์
ค.ศ. 1778 การฝึกซ้อมมานานสองปีเริ่มสัมฤทธิ์ผล เบโธเฟ่นสามารถเปิดคอนเสิร์ตเปียโนในที่สาธารณะได้เป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคม ขณะอายุ 7 ปี 3 เดือน ที่เมืองโคโลญจน์ (Cologne) แต่บิดาของเบโธเฟ่นโกหกประชาชนว่าเบโธเฟ่นอายุ 6 ปี เพราะอายุเบโธเฟ่นยิ่งน้อย ประชาชนจะยิ่งให้ความสนใจมากขึ้น ในฐานะนักดนตรีที่เก่งตั้งแต่เด็ก
หลังจากนั้น เบโธเฟ่นก็เรียนไวโอลินและออร์แกนกับอาจารย์หลายคน จนใน ค.ศ. 1781 เบโธเฟ่นได้เป็นศิษย์ของคริสเตียน กอตท์โลบ เนเฟ (Christian Gottlob Neefe) ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สร้างความสามารถในชีวิตให้เขามากที่สุด เนเฟสอนเบโธเฟ่นในเรื่องเปียโนและการแต่งเพลง
ค.ศ. 1784 เบโธเฟ่นสามารถเข้าไปเล่นออร์แกนในคณะดนตรีประจำราชสำนัก ในตำแหน่งนักออร์แกนที่สองในคณะดนตรีประจำราชสำนัก มีค่าตอบแทนให้พอสมควร แต่เงินส่วนใหญ่ที่หามาได้ ก็หมดไปกับค่าสุราของบิดาเช่นเคย
ค.ศ. 1787 เบโธเฟ่นเดินทางไปยังเมืองเวียนนา(Vienna) เพื่อศึกษาดนตรีต่อ เขาได้เข้าพบโมซาร์ท และมีโอกาสเล่นเปียโนให้โมซาร์ทฟัง เมื่อโมซาร์ทได้ฟังฝีมือของเบโธเฟ่นแล้ว กล่าวกับเพื่อนว่าเบโธเฟ่นจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในโลกดนตรีต่อไป แต่อยู่เมืองนี้ได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ ก็ได้รับข่าวว่าอาการวัณโรคของมารดากำเริบหนัก จึงต้องรีบเดินทางกลับบอนน์ หลังจากกลับมาถึงบอนน์และดูแลมารดาได้ไม่นาน มารดาของเขาก็เสียชีวิตลงในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1787 ด้วยวัย 43 ปี เบโธเฟ่นเศร้าโศกซึมเซาอย่างรุนแรง ในขณะที่บิดาของเขาก็เสียใจไม่แพ้กัน แต่การเสียใจของบิดานั้น ทำให้บิดาของเขาดื่มสุราหนักขึ้น ไร้สติ จนในที่สุดก็ถูกไล่ออกจากคณะดนตรีประจำราชสำนัก เบโธเฟ่นในวัย 16 ปีเศษ ต้องรับบทเลี้ยงดูบิดาและน้องชายอีก 2 คน
ค.ศ. 1788 เบโธเฟ่นเริ่มสอนเปียโนให้กับคนในตระกูลบรอยนิงค์ เพื่อหาเงินให้ครอบครัว
ค.ศ. 1789 เบโธเฟ่นเข้าเป็นนักศึกษาไม่คิดหน่วยกิตในมหาวิทยาลัยบอนน์
ค.ศ. 1792 เบโธเฟ่นตั้งรกรากที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เบโธเฟ่นมีโอกาสศึกษาดนตรีกับโจเซฟ ไฮเดิน หลังจากเขาเดินทางมาเวียนนาได้ 1 เดือน ก็ได้รับข่าวว่าบิดาป่วยหนักใกล้จะเสียชีวิต (มาเวียนนาครั้งก่อน อยู่ได้ครึ่งเดือนมารดาป่วยหนัก มาเวียนนาครั้งนี้ได้หนึ่งเดือนบิดาป่วยหนัก) แต่ครั้งนี้เขาตัดสินใจไม่กลับบอนน์ แบ่งหน้าที่ในบอนน์ให้น้องทั้งสองคอยดูแล และในปีนั้นเองบิดาของเบโธเฟ่นก็สิ้นใจลงโดยไม่มีเบโธเฟ่นกลับไปดูใจ แต่ทางเบโธเฟ่นเองก็ประสบความสำเร็จในการแสดงคอนเสิร์ตในฐานะนักเปียโนเอก และผู้ที่สามารถเล่นได้โดยคิดทำนองขึ้นมาได้สด ๆ ทำให้เขาเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแวดวงขุนนางและครอบครัวของขุนนาง
ค.ศ. 1795 เขาเปิดการแสดงดนตรีในโรงละครสาธารณะในเวียนนา และแสดงต่อหน้าประชาชน ทำให้เบโธเฟ่นเริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น
ค.ศ. 1796 ระบบการได้ยินของเบโธเฟ่นเริ่มมีปัญหา เขาเริ่มไม่ได้ยินเสียงในสถานที่กว้าง ๆ และเสียงกระซิบของผู้คน เขาตัดสินใจปิดเรื่องหูตึงนี้เอาไว้ เพราะในสังคมยุคนั้น ผู้ที่ร่างกายมีปัญหา(พิการ) จะถูกกลั่นแกล้ง เหยียดหยาม จนในที่สุดผู้พิการหลายคนกลายเป็นขอทาน ดังนั้น เขาต้องประสบความสำเร็จให้ได้เสียก่อนจึงจะเปิดเผยเรื่องนี้ จากนั้นเขาก็เริ่มประพันธ์บทเพลงขึ้นมา แล้วจึงหันเหจากนักดนตรีมาเป็นผู้ประพันธ์เพลง เขาสร้างสรรค์ผลงานที่มีแนวแตกต่างไปจากดนตรียุคคลาสสิกคือ ใช้รูปแบบยุคคลาสสิก แต่ใช้เนื้อหาจากจิตใจ ความรู้สึกในการประพันธ์เพลง จึงทำให้ผลงานเป็นตัวของตัวเอง เนื้อหาของเพลงเต็มไปด้วยการแสดงออกของอารมณ์อย่างเด่นชัด
ค.ศ. 1801 เบโธเฟ่นเปิดเผยเรื่องปัญหาในระบบการได้ยินให้ผู้อื่นฟังเป็นครั้งแรก แต่ครั้งนี้สังคมยอมรับ ทำให้เขาไม่จำเป็นต้องปกปิดเรื่องอาการหูตึงอีก หลังจากนั้น ก็เป็นยุคที่เขาประพันธ์เพลงออกมามากมาย แต่เพลงที่เขาประพันธ์นั้นจะมีปัญหาตรงที่ล้ำสมัยเกินไป ผู้ฟังเพลงไม่เข้าใจในเนื้อหา แต่ในภายหลัง เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้คนเริ่มเข้าใจในเนื้อเพลงของเบโธเฟ่น บทเพลงหลายเพลงเหล่านั้นก็เป็นที่นิยมล้นหลามมาถึงปัจจุบัน
เมื่อเบโธเฟ่นโด่งดังก็ย่อมมีผู้อิจฉา มีกลุ่มที่พยายามแกล้งเบโธเฟ่นให้ตกต่ำ จนเบโธเฟ่นคิดจะเดินทางไปยังเมืองคาสเซล ทำให้มีกลุ่มผู้ชื่นชมในผลงานของเบโธเฟ่มาขอร้องไม่ให้เขาไปจากเวียนนา พร้อมทั้งเสนอตัวให้การสนับสนุนการเงิน โดยมีข้อสัญญาว่าเบโธเฟ่นต้องอยู่ในเวียนนา ทำให้เขาสามารถอยู่ได้อย่างสบาย ๆ และผลิตผลงานตามที่ต้องการโดยไม่ต้องรับคำสั่งจากใคร
เบโธเฟ่นโด่งดังมากในฐานะคีตกวี อาการสูญเสียการได้ยินมีมากขึ้น แต่เขาพยายามสร้างสรรค์ผลงานจากความสามารถและสภาพที่ตนเป็นอยู่ มีผลงานชั้นยอดเยี่ยมให้กับโลกแห่งเสียงเพลงเป็นจำนวนมาก ผลงานอันโด่งดังในช่วงนี้ได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 5 ที่เบโธเฟ่นถ่ายทอดท่วงทำนองออกมาเป็นจังหวะ สั้น - สั้น - สั้น - ยาว อาการไม่ได้ยินรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และ ซิมโฟนีหมายเลข 9 ที่เขาประพันธ์ออกมาเมื่อหูหนวกสนิทตั้งแต่ปี ค.ศ. 1819 เป็นต้นมา รวมทั้งบทเพลงควอเต็ตเครื่องสายที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขาก็ประพันธ์ออกมาในช่วงเวลานี้เช่นกัน
ในช่วงนี้ เบโธเฟ่นมีอารมณ์แปรปรวน เนื่องจากปัญหาเกี่ยวกับหลานชายที่เขารับมาอุปการะ เขาถูกหาว่าเป็นคนบ้า และถูกเด็ก ๆ ขว้างปาด้วยก้อนหินเมื่อเขาออกไปเดินตามท้องถนน แต่ก็ไม่มีใครสามารถปฏิเสธความเป็นอัจฉริยะของเขาได้ แต่ภายหลังเขาก็ได้พูดคุยปรับความเข้าใจกับหลานชายเป็นที่เรียบร้อย
ค.ศ. 1826 โรคเรื้อรังในลำไส้ที่เบโธเฟ่นเป็นมานานก็กำเริบหนัก หลังจากรักษาแล้ว ได้เดินทางมาพักฟื้นที่บ้านน้องชายบนที่ราบสูง แต่อารมณ์แปรปรวนก็ทำให้เขาทะเลาะกับน้องชายจนได้ เขาตัดสินใจเดินทางกลับเวียนนาในทันที แต่รถม้าที่นั่งมาไม่มีเก้าอี้และหลังคา เบโธเฟ่นทนหนาวมาตลอดทาง ทำให้เป็นโรคปอดบวม แต่ไม่นานก็รักษาหาย
12 ธันวาคม ค.ศ. 1826 โรคเรื้อรังในลำไส้และตับของเบโธเฟ่นกำเริบหนัก อาการทรุดลงตามลำดับ
26 มีนาคม ค.ศ. 1827 เบโธเฟ่นก็เสียชีวิตลง พิธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการในโบสถ์เซนต์ ตรินิตี โดยมีผู้มาร่วมงานกว่า 20,000 คน ศพของเขาถูกฝังอยู่ที่สุสานกลางในกรุงเวียนนา