วงออร์เคสตรา (Orchestra)

วงออร์เคสตรา

วงออร์เคสตรา คือ วงดุริยางค์ขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกับเครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตี ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่สมัยยุคบาโรก (ศตวรรษที่ 16) ในการศึกษาวงออร์เคสตราจำเป็นต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบดังนี้
        1. ประวัติของวงออร์เคสตรา
            วงออร์เคสตรา เป็นภาษาเยอรมัน หมายถึง สถานที่เต้นรำ เป็นส่วนหน้าเวทีของโรงละครสมัยกรีกโบราณในยุคกลาง ความหมายได้เปลี่ยนเป็นเวทีที่ใช้แสดงเท่านั้น และใน    กลางศตวรรษที่ 18 วงออร์เคสตรา หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งใช้มาจนปัจจุบัน อีกนัยหนึ่งก็ยังหมายถึง พื้นที่ระดับต่ำที่เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวที ละคร และการแสดงคอนเสิร์ต
             ในระยะแรก การใช้เครื่องดนตรีไม่มีการระบุแน่นอนว่ามีการบรรเลงเป็นอย่างไร ต่อมาในระยะศตวรรษที่ 16 มีโอเปราเกิดขึ้นทำให้มีความจำเป็นต้องการให้มีการบรรเลงกลมกลืนกับนักร้องจึงเริ่มมีการกำหนดเครื่องดนตรีลงในบทเพลงโดยเป็นลักษณะของวงเครื่องสายออร์เคสตรา (String Orchestra) มีผู้เล่นจำนวน 10-25 คน ในศตวรรษที่ 17 เริ่มมีการเพิ่มเครื่องลมไม้ และในตอนปลายยุคบาโรก (ประมาณ ค.. 1750) ผู้ประพันธ์เพลงเริ่มระบุจำนวนเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด มีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องประกอบจังหวะ
             วงออร์เคสตราเริ่มมีการพัฒนารูปแบบจนได้มาตรฐานในยุค คลาสสิก (ศตวรรษที่ 18) บทเพลงประเภทซิมโฟนีมีการพัฒนารูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ บทเพลงประเภท คอนแชร์โต โอเปรา และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนา
               นอกจากนี้ในวงออร์เคสตรายังมีเครื่องดนตรีแต่ละประเภทครบถ้วน คือ ในกลุ่มเครื่องสายประกอบด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส ในกลุ่มเครื่องลมไม้    ประกอบด้วยฟลูต คลาริเน็ต โอโบ
บาสซูน ในกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองประกอบด้วย ฮอร์น ทรัมเป็ต ทรอมโบน และทูบาและในกลุ่มเครื่องตีประกอบด้วย กลองทิมปานี กลองใหญ่ และเครื่องประกอบจังหวะอื่นๆ ซึ่งจะมีรายละเอียดตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง
                        ต่อมา ในยุคโรแมนติก วงออร์เคสตราเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่และสื่ออารมณ์ของบทเพลงให้ชัดเจน ความนิยมในบทเพลงประเภทบรรยายเรื่องราว (Symphonic poem) ทำให้วงออร์เคสตรามีผู้แสดงถึง 100 คน และนับว่าเป็นการพัฒนาถึงขีดสุดจนถึงยุคศตวรรษที่ 20 เนื่องจากผลกระทบหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้วงมีขนาด  ลดลงซึ่งในการจัดวงนั้นก็ขึ้นกับปัจจัยทางสังคม เช่น เศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น เช่นเดียวกับการประพันธ์บทเพลง

             2.  วิวัฒนาการการจัดวงออร์เคสตรา
                      2.1   ยุคบาโรก (Baroque) .. 1600-1750 เป็นยุคแรกของวงออร์เคสตรา ดังนั้น มาตรฐานการจัดวงจึงมีความไม่แน่นอนซึ่งอาจประกอบด้วย
                                    เครื่องสาย                    คือ    ไวโอลิน 2 แนว (ไวโอลิน 1 ไวโอลิน 2)
                                                                                 วิโอลา
                                                                                 เชลโลและดับเบิลเบส
                                    เครื่องลมไม้                 คือ   โอโบ 3 เครื่อง
                                                                                บาสซูน 1 เครื่อง
                                                                                บางครั้งอาจมีฟลูต
                                    เครื่องลมทองเหลือง    คือ   ทรัมเป็ต 3 เครื่อง
                                                                                บางครั้งอาจมีฮอร์น
                                    เครื่องประกอบจังหวะ คือ  ทิมปานี
 นอกจากนี้อาจมีออร์แกนเมื่อบรรเลงบทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนา (เพลงโบสถ์) และเครื่องดนตรีชนิดอื่นตามความต้องการของผู้ประพันธ์
                      2.2  ยุคคลาสสิก (The Classic Era) .. 1750-1820 ยุคนี้วงออร์เคสตราเริ่มมีแบบแผนอาจแบ่งเป็น วงเครื่องสายออร์เคสตรา (String Orchestra) คือ วงออร์เคสตราที่ประกอบด้วยเครื่องสายเพียงอย่างเดียวและวงออร์เคสตรามีเครื่องดนตรีทั้ง 4 ประเภท อาจประกอบด้วย

                                                ฟลูต          2          เครื่อง                 ฮอร์น                    2          เครื่อง
                                                โอโบ         2          เครื่อง                 ทรัมเป็ต                2          เครื่อง
                                                คลาริเน็ต   2          เครื่อง                 กลองทิมปานี        2          ใบ
                                                บาสซูน     2           เครื่อง                 เครื่องสาย (ตามแต่ประพันธ์เพลงต้องการ)
ในกลุ่มเครื่องสายจะมีแนวบรรเลง 2 แนว คือ แนวทำนองหลักและแนวเสียงประสาน
                     2.3 ยุคโรแมนติก (The Romantic Era) .. 1820-1900 ยุคนี้ออร์เคสตราพัฒนาถึงจุดที่เป็นมาตรฐานเครื่องดนตรีสามารถให้สีสันกับบทเพลงได้อย่างเด่นชัด โดยมีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีให้มากขึ้น ผู้บรรเลงประมาณ 80 คน ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

                                                ฟลูต               4          เครื่อง                 ดับเบิลเบส           8          เครื่อง
                                                โอโบ              4          เครื่อง                 ฮอร์น                   4          เครื่อง
                                                คลาริเน็ต        4          เครื่อง                 ทรัมเป็ต               4          เครื่อง
                                                บาสซูน          4          เครื่อง                 ทรอมโบน            4          เครื่อง    
                                                ไวโอลิน    14         เครื่อง                 ทิมปานี                1          ชุด
                                                ไวโอลิน 2      14        เครื่อง                 กลองใหญ่            1          ตัว
                                                วิโอลา             8         เครื่อง                 ฉาบ                      1          คู่
                                                เชลโล             10        เครื่อง                 ฮาร์ฟ                    1          คู่

                   2.4  วงออร์เคสตราในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันไปตามสภาพสังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งจุดมุ่งหมายการบรรเลงเพลงด้วย แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ขนาดเล็กผู้บรรเลงไม่เกิน 60 คน และขนาดใหญ่ผู้บรรเลงประมาณ 80-100 คน โดยคำนึงถึงความกลมกลืน และความสมดุลของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่ม ในการจัดกลุ่มเครื่องดนตรี นิยมให้เครื่องสายอยู่   ด้านหน้าสุด ส่วนเครื่องตีและเครื่องลมทองเหลืองอยู่ด้านหลัง บริเวณกลางจะเป็นเครื่องลมไม้ ดังนี้

                                    กลุ่มเครื่องสาย       ไวโอลิน 1                       18                    เครื่อง
                                                                   ไวโอลิน 2                       15                    เครื่อง
                                                                   วิโอลา                             12                    เครื่อง
                                                                    เชลโล                            12                    เครื่อง
                                                                    ดับเบิลเบส                     12                    เครื่อง
                                    กลุ่มเครื่องลมไม้     ฟลูต                                3                     เครื่อง                
                                                                    ปิกโกโล                          1                     เครื่อง
                                                                    โอโบ                               3                     เครื่อง                
                                                                     อิงลิชฮอร์น                     1                     เครื่อง
                                                                     คลาริเน็ต                         3                     เครื่อง                
                                                                     เบสคลาริเน็ต                   1                     เครื่อง
                                                                     บาสซูน                            3                     เครื่อง                
                                                                     ดับเบิลบาสซูน                1                      เครื่อง
                        กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง      ฮอร์น                             4-6                   เครื่อง
                                                                      ทรัมเป็ต                         4                      เครื่อง
                                                                      ทรอมโบน                     3                      เครื่อง
                                                                      ทูบา                               1                      เครื่อง
                        กลุ่มเครื่องตี                          กลองทิมปานี                 1                      ชุด
                                                                     กลองใหญ่ กลองเล็ก ไซโลโฟน สามเหลี่ยม ฉาบ
                                                                     แทมโบริน (ใช้ผู้เล่น 2-4 คน)


 


                 3.  บทเพลงที่ใช้ในวงออร์เคสตรา
            ซิมโฟนี (Symphony)
            เป็นบทเพลงต้นแบบของเพลงประเภทต่างๆ ที่ใช้บรรเลงสำหรับวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ซึ่ง นิยมในยุคคลาสสิก (1750-1820) ส่วนใหญ่ประพันธ์โดยไฮเดิน (106 บท) โมซาร์ท (ประมาณ 50 บท) ในยุคโรแมนติกเป็นบทเพลงที่มีความไพเราะ สง่างามและแสดงออกถึงอารมณ์ จิตวิญญาณของดนตรีในยุคผู้ประพันธ์ที่สำคัญ เช่น ชูเบิร์ต ชูมานน์ เป็นต้น ซิมโฟนีโดยปกติ   ประกอบด้วย 3-4 ท่อน โดยรูปแบบจังหวะแต่ละท่อนเป็นเร็ว-ช้า-เร็ว หรือ เร็ว-ช้า-เร็ว     ปานกลาง-เร็ว
            คอนแชร์โต (Concerto)
            เป็นบทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีเดี่ยวเพื่อแสดงฝีมือของผู้บรรเลงร่วมบรรเลงกับวงออร์เคสตรา เกิดขึ้นในยุคบาโรกและมีแบบแผนที่เป็นมาตรฐานในยุคคลาสสิก ด้านรูปแบบมีลักษณะคล้ายกับซิมโฟนีแต่มีเพียง 3 ท่อน ประกอบด้วย เร็ว-ช้า-เร็ว คอนแชร์โตที่นิยม คือ เปียโนคอนแชร์โตและไวโอลินคอนแชร์โต
            โอเปรา (Opera)
            เป็นละครเพลงร้องที่ใช้วงออร์เคสตราในการบรรเลงดนตรีประกอบ และดำเนินเรื่องใช้การร้องเป็นหลัก โอเปราแบ่งได้ 2 ประเภท คือ โอเปรา ซีเรีย (Opera Seria) เป็นเรื่องราว  เกี่ยวกับชนชั้นสูง เนื้อหาเกี่ยวกับโศกนาฏกรรม ความรัก และโอเปรา ชวนหัว (Comic Opera, Opera buffa) เนื้อหาเป็นเรื่องสามัญชนทั่วไป แนวสนุกสนาน ตลกขบขัน ดำเนินเรื่องรวดเร็ว
            บางโอกาสอาจมีโอเปราอีก 2 ประเภท คือ โอเปเรตตา (Operetta) เป็นโอเปราขนาดเล็ก มีแนวสนุกสนานทันสมัย ใช้การพูดแทนการร้องในบทสนทนา และคอนทินิวอัสโอเปรา (Continuous Opera) เป็นโอเปราที่ใช้ดนตรีเชื่อมโยงเรื่องราวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ
            ดนตรีบรรยายเรื่องราว (Simphonic poem)
            เป็นบทเพลงที่ใช้เสียงดนตรีสื่อความหมายต่างๆ หรือเล่าเรื่องราวตามความมุ่งหมายของ           ผู้ประพันธ์ ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องราวหรือบรรยายภาพในลักษณะการเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น    น้ำไหล นกร้อง เป็นต้น บทเพลงประเภทนี้จะสื่ออารมณ์ความรู้สึกอย่างชัดเจน เกิดขึ้นใน             ยุคโรแมนติกและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
            บัลเลต์ (Ballet)
          เป็นบทเพลงที่ใช้สำหรับประกอบการแสดงละครคล้าย  โอเปร่า แต่ไม่มีบทร้อง ผู้แสดงใช้การเต้นบรรยายแทนการสนทนา ผู้ประดิษฐ์ท่าทางมีความสำคัญมากเพราะต้องสื่อเนื้อหาที่เข้ากับดนตรีและเนื้อเรื่อง ดนตรีบัลเลต์จัดเป็นดนตรีที่บรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าที่มีความไพเราะสามารถฟังได้โดยไม่ต้องมีการแสดงประกอบแต่ประการใด
          แหล่งที่มา http://tc.mengrai.ac.th/singthong/webstu/521/611/6119-Baroque-A/link16.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น