เชมเบอร์มิวสิก (Chamber Music)

เชมเบอร์มิวสิก

                            เชมเบอร์มิวสิกเป็นการบรรเลงเพลงโดยวงเล็กๆ จึงมีความแตกต่างจากออร์เคสตร้าโดยสิ้นเชิงสุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกมุ่งไปสู่ความเด่นชัดของสีสันของเครื่องดนตรีสำหรับวงเล็ก ๆ ประเภททริโอ ควอเทท ควินเทท จนถึงวงประเภท ๗-๘ คนเท่านั้น ดังนั้นความเด่นชัดของเครื่องดนตรีแต่ละประเภทจึงเป็นเอกลักษณะเฉพาะของเพลงประเภทนี้ นอกจากนั้น การประสานความสัมพันธ์ในการบรรเลงเพลงจนเป็นหนึ่งเดียวกันก็เป็นเสน่ห์ที่ผู้ฟังจะได้สัมผัสกับดนตรีประเภทเชมเบอร์มิวสิก เพราะแต่ละวงจะมีการการฟังเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิกต้องการความรู้ความเข้าใจเช่นเดียวกับการฟังเพลงคลาสสิกประเภทอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเพลงประเภทนี้ใช้ผู้เล่นเพียงไม่กี่คน ย่อมไม่สามารถสร้างอารมณ์ความรู้สึกของดนตรีได้อย่างเพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า เช่น ความมีพลัง สีสัน หรือเสียงของ วงประสานเสียงที่ร้องไปกับวงออร์เคสตร้า ทำให้รู้สึกยิ่งใหญ่ มโหฬาร แต่สิ่งที่จะได้รับจากเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิก จะเป็นในลักษณะลักษณะของเสียงดนตรีที่แท้จริง ในด้านคุณภาพของการเล่น เพราะถ้ามี ผู้เล่นผิดพลาดจะได้ยินอย่างเด่นชัด ฉะนั้น การบรรเลงประเภทนี้ ผู้บรรเลงต้องมีความถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของเพลงได้อย่างกระจ่างแจ่มชัดแจ้งจริง ๆ นอกจากนี้ ความเป็นหนึ่งในการบรรเลงเพลงซึ่งเป็นความหมายของคำว่า Ensemble คือ ความพร้อมเพียงของผู้บรรเลง เป็นสิ่งที่การบรรเลงเพลงประเภทนี้ต้องการเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่เฉพาะความถูกต้องในการบรรเลงของแต่ละคนเท่านั้น ความถูกต้อง ความเป็นหนึ่งของทั้งวง ย่อมจะต้องมีอยู่อย่างครบครัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ได้จาการฟังเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิก ซึ่งต่างไปจากเพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้าโดยปกติการผสมวงแบบเชมเบอร์มิวสิก จะมีนักดนตรีตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป จนถึง ๙ คน และวงดนตรีจะมีชื่อต่าง ๆ ตามจำนวนของผู้บรรเลง เช่น
ผู้บรรเลง ๒ คน เรียก ดูโอ (Duo) เช่น เล่น Violin กับ Piano ฯลฯ
ผู้บรรเลง ๓ คน เรียก ทริโอ(Trio) เช่น เล่น Piano ๓ หลัง หรือ Piano ๒ กับ Flute ฯลฯ
ผู้บรรเลง ๔ คน เรียกว่า ควอเทท (Quartet) เช่น String Quartet ประกอบด้วยไวโอลิน ๒ คัน
วิโอลา ๑ คัน และ เชลโล ๑ คัน
ผู้บรรเลง ๕ คน เรียกว่า ควินเทท (Quintet) เช่น บทบรรเลง Quintet For two Pianos, Cello and Violin, etc.
ผู้บรรเลง ๖ คน เรียกว่า เซ็กเทท (Sextet)
ผู้บรรเลง ๗ คน เรียกว่า เซ็พเทท (Septet)
ผู้บรรเลง ๘ คน เรียกว่า อ็อคเทท (Octet)
ผู้บรรเลง ๙ คน เรียกว่า โนเนท (Nonet)


สุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกซ้อมกันอย่างดี จนบรรเลงร่วมกันอย่างรู้ใจ คล้ายกับเป็นเครื่องดนตรีเพียงเครื่องเดียวที่มีความหลากหลาย ด้วยเหตุนี้สุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกจึงอยู่ที่ความเด่นชัด ยอดเยี่ยมของผู้บรรเลงซึ่งนำเสนอจากโสตศิลป์ อันเป็นการสร้างสรรค์ของผู้ประพันธ์เพลง แม้ความมีพลัง ความยิ่งใหญ่ เช่นวงออร์เคสตร้า จะหาไม่ได้จากวงเชมเบอร์มิวสิก แต่ความเด่นชัดเฉพาะตัวของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง กลับเป็นความงดงามที่เชมเบอร์มิวสิก สามารถให้กับผู้ชมได้อย่างเต็มเปี่ยมการสอดประสานสัมพันธ์ และการบรรเลงเป็นผู้นำสอดสลับรับกันไปของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่องในวงเชมเบอร์มิวสิกเป็นความสวยงามอีกประการหนึ่งที่ผู้ฟังเพลงประเภทนี้จะได้รับ ส่วนในการฟังเพลงเชมเบอร์มิวสิกประเภทสตริงควอเททมิได้นำเสนอสีสันที่แตกต่างมากนักเพราะเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง คือเครื่องสาย ลีลาของเพลง จังหวะ ท่วงทำนองเทคนิคของการบรรเลง และองค์ประกอบดนตรีอื่น ๆเป็นความเฉพาะตัว และเป็นสุนทรีย์ของสตริงควอเททสำหรับวงประเภทอื่นๆ ที่มีดนตรีประเภทอื่นเข้ามาผสม เช่น
เปียโนควินเทท คลาริเนทควินเทท เปียโนทริโอ เป็นต้น ย่อมให้สีสันเพิ่มขึ้นผู้ฟังจึงสามารถสรรเลือกฟังเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิกที่หลากหลายได้ส่วนวงดนตรีประเภท เชมเบอร์ออร์เคสตร้า ที่มักจะมีเฉพาะเครื่องสายเท่านั้น ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส และมีผู้บรรเลงประมาณ ๑๖-๒๐ คน เป็นเชมเบอร์มิวสิกอีกประเภทหนึ่งที่น่าฟัง เพราะจะมีความมีพลังของออร์เคสตร้าปรากฏอยู่ แม้จะไม่มากเท่ากับวงออร์เคสตร้าโดยตรง ขณะเดียวกันก็มีความเด่นชัดของเครื่องดนตรีบ้าง แม้จะเทียบกับวงเชมเบอร์มิวสิกวงเล็ก ๆไม่ได้ แต่เป็นความลงตัวที่อยู่ระหว่างเพลงทั้งสองประเภท จึงมีความน่าสนใจและมีสุนทรีย์ในตัวเองอย่างเด่นชัดเช่นกันความเข้าใจในองค์ประกอบของดนตรี และความเข้าใจในเพลงเชมเบอร์มิวสิกประเภทวงเล็ก ๆ เป็นรากฐานสำคัญในการฟังเพลงประเภทนี้ให้เข้าถึงสุนทรีย์และความซาบซึ้ง ผู้ประสงค์จะฟังเพลงประเภทนี้ จึงควรศึกษาหาความรู้เรื่องเชมเบอร์มิวสิกมากพอสมควรในระยะเริ่มต้นของการฟัง เพื่อพัฒนาการรับรู้ของตนเองให้เข้าถึงสุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกอย่างถ่องแท้ต่อไป

เครื่องดนตรีที่ใช้


นิยมใช้บรรเลงที่ห้องโถงที่ไม่ใหญ่มากนักมีชื่อเรียกตามแบบต่างๆกันออกไปจามจำนวนผู้บรรเลงดังนี้
  1. ดูโอ ( duo ) มีผู้แสดงจำนวน 2 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน 2 คน นักร้อง 2 คน หรือ กีตาร์ 1 คน กับขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 1 คน
  2. ทรีโอ ( trio ) มีผู้แสดงจำนวน 3 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลา 1 คน หรือ นักร้องประสานเสียง 3 คน
  3. ควอเต็ต ( quartet ) มีผู้แสดงจำนวน 4 คน เช่น เครื่องสาย 4 ชิ้น คือผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลา 1 คน และ เชลโล 1 คน
  4. ควินเต็ต ( quintet ) มีผู้แสดงจำนวน 5 คน เช่น วงเครื่องเป่าทองเหลือง 5 ชิ้น คือ ผู้เล่นทรัมป็ด 2 คน ฮอร์น 1 คน ทรอมโบน 1 คน ทูบา 1 คน
  5. เซ็กเต็ต ( sextet ) มีผู้แสดงจำนวน 6 คน เช่น นักร้องประสานเสียง 6 คน
  6. เซ็ปเต็ต ( septet ) มีผู้แสดงจำนวน 7 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน วิโอลา ฮอร์น คลาริเน็ต บาสซูน เชลโล และ ดับเบิลเบส อย่างละ 1 คน
  7. อ๊อกเต็ต ( octet ) มีผู้แสดงจำนวน 8 คน เช่น ประกอบด้วยผู้เล่น ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส คลาริเน็ต บาสซูน ฮอร์น อย่างละ 1 คน
  8. โนเน็ต ( nonet ) มีผู้แสดงจำนวน 9 คน ประกอบด้วย วงสตริงควอเต็ต ( 4 คน ) แล้วเพิ่ม ฟลุท โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน ฮอร์น รวมเป็น 9 คน ( เปียโน 1 คน )
เพลงที่ใช้บรรเลงในวงนี้เป็นบทประพันธ์แบบสั้นๆ ต้องการแสดงความโดดเด่น เทคนิคต่างๆ ในการบรรเลงและการประสานเสียงของเครื่องดนตรีที่บรรเลงร่วมกัน ส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นสำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น